จุดหมายที่ไม่ปลายทางของนักแสวงหา

Posted on

จุดหมายที่ไม่ปลายทางของนักแสวงหา

ในราวปี ๒๕๔๔ มีงานมหกรรมเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ที่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งตอนนั้นได้เชิญอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์มาพูดให้กำลังใจชาวบ้าน ช่วงเวลาที่อาจารย์ จะพูดนั้นเป็นยามค่ำคืนค่อนดึก จึงไม่ค่อยมีคนนั่ง ฟังอาจารย์มากนัก ตอนนั้นผู้เขียนและเพื่อน ๆ อีกห้าคนไปร่วมงานด้วย อาจารย์ประจำภาควิชาพัฒนา สังคมของเราบอกเราว่า ให้ไปนั่งฟังอาจารย์สุลักษณ์ หน่อย พวกเราหกคนจึงไปนั่งหน้าสลอนอยู่หน้าเวที โดยไม่มีใครอยู่ข้างหลังเราเลย

พอเราฟังอาจารย์จบ เราหกคนก็เกิดความคิดความรู้สึกแบบเดียวกันว่า ชายคนนี้เป็นใครกัน แต่งตัวก็ไม่เหมือนนักวิชาการ ทำไมต้องเรียกเขาว่า อาจารย์ และเขาช่างมีวิธีพูดจาที่…ไม่น่ารักเอา เสียเลย แล้ว เราก็ลืมชายคนที่ว่านั้นไป

ผ่าน ไปจากเวทีนั้นจนถึงตอนนี้ สี่ในหกของพวกเราที่นั่ง ฟังอาจารย์ตอนนั้น ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในอาศรมวงศ์ สนิท ชุมชนทางเลือกหรือองค์กรพัฒนาภายใต้ความดูแล ของอาจารย์ และตอนนี้เราก็กำลังสงสัยกันว่า เหตุไฉนเมื่อตอนที่เราเรียนเรื่องการพัฒนานั้น เราไม่เคยได้อ่าน ได้ศึกษาแนวคิด การพัฒนาของอาจารย์เลย มันคงเป็นเพราะเราเองสนใจแต่ คำบรรยายของอาจารย์ผู้สอน บทความที่อาจารย์ของเรา เขียน หนังสือที่ท่านแนะนำให้อ่าน เพราะ เชื่อได้ว่ามันเป็นสิ่งที่จะมีอยู่ในข้อสอบ เรา เครียดกับการที่จะต้องสอบให้ผ่านมากกว่าที่จะสนใจแสวงหาแนวคิดการพัฒนาจริงๆ จังๆอย่างที่เราควรจะทำ ในฐานะนักศึกษาเพื่อการ พัฒนา ใครที่พูดอะไรนอกเหนือจากที่อาจารย์เราสอน ไม่ได้อยู่ในหนังสือที่เราอ่านก่อนสอบ เรา ก็แทบไม่อยากเชื่อ ไม่อยากฟังเอาเสียเลย

ผู้เขียนเองเข้ามาในอาศรม วงศ์สนิทในฐานะอาสาสมัครเมื่อสองปีที่แล้ว ตอนนั้น ไม่ได้รู้จักอาศรมวงศ์สนิทมากไปกว่าการเป็นที่ทำงานของเพื่อน และรู้ว่าพวกเขายินดีรับอาสาสมัครในโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่ ทั้งโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน ครัวชุมชน โครงการบ้านดิน โครงการธรรมชาติบำบัด และโครงการ รณรงค์ต่อต้านโรงงานนิวเคลียร์ โดยที่ไม่ได้เข้าใจ แนวคิดอะไรของโครงการเหล่านี้เช่นกัน และเมื่อ เพื่อนบอกว่า อาศรมวงศ์สนิทเป็น ชุมชนทางเลือก ผู้เขียนก็ พยายามเรียกข้อมูลความรู้ความจำที่มีอยู่ในหัว ก็ ไม่ปรากฏว่ามีคำอธิบายเกี่ยวกับคำนี้เลยสักนิด แต่ ก็ไม่ได้อยู่ในความสนใจสักเท่าใดนัก ด้วยอัตตาถือดี ว่าตัวเองเรียนพัฒนาชุมชนมา จบด้วยเกรดเฉลี่ยขั้นดี รู้ ดีว่าชุมชนคืออะไร รู้จักชุมชนทุกประเภท รู้จักทฤษฎีต่าง ๆที่ว่าด้วยเรื่องชุมชน ถึงจะไม่รู้ว่า ชุมชนทางเลือก เป็นยังไง ก็ มั่นใจว่าไม่ใช่อะไรที่นอกเหนือไปจากทฤษฎีที่เรียนมาเป็นแน่ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจกว่าคือเจตนารมณ์ข้อหนึ่งของสถานที่ว่า ให้เป็นที่สำหรับนัก กิจกรรมสังคมได้มาพักผ่อน ในบรรยากาศที่ใกล้ชิด ธรรมชาติและเรียนรู้ด้านในของตน คำว่า เรียนรู้ด้านใน นี้เองเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ เขียนในตอนนั้น เป็นคำแปลกใหม่ที่ไม่เคยได้ยินได้ ฟังมาก่อน คุ้นเคยแต่คำว่า เรียนหนังสือ เรียนวิชาชีพ เรียน นั่นเรียนนี่ แต่ไม่เคยได้ยินคำว่าเรียนรู้ด้านใน สักที ด้วยความอวดดีอีกเช่นกันที่ทำให้ผู้เขียนสนใจ ใคร่จะมาเยี่ยมเยียนสถานที่แห่งนี้ อยากจะรู้นักว่าที่แห่งนี้มันอะไรกันนักหนา ทำไมเต็มไปด้วยคำพูดแปลก ๆ หรือจะเป็นแค่พวกชอบบัญญัติศัพท์ใหม่ให้คนจำตัวเองได้เฉย ๆ จึงถือวิสาสะสะพายกระเป๋าเข้ามา เยี่ยมเพื่อน เพื่อ สังเกตการณ์ โดยไม่รอคำตอบรับเรื่องการเป็นอาสา สมัครจาก กรรมการชุมชน

สับสนหรือ เป็นคำถามข้อแรก ๆ จากรุ่นพี่เมื่อผู้เขียนเดินทางมาถึง ทำเอาผู้เขียน มึนจนพูดไม่ออก ความอวดดีหล่นลงน้ำ จ๋อม! (แต่ก็ยัง คงเหลืออยู่แหละ) ได้แต่พยักหน้ารับหงอย ๆ งง ๆ และตื่นกลัวกับการถูกคนแปลกหน้าจู่โจมเคาะประตูที่จะ เข้าสู่ด้านในของตนจัง ๆ เช่นนี้

เป็นเรื่องธรรมดาของคนหนุ่มสาว พวกเขาว่าอย่างนั้น ถ้าไม่เคยสับสนก็แสดงว่าไม่เคยตั้งคำถามกับชีวิตเลย ดูเหมือนพวกเขาคุ้นเคยกับภาพคนหนุ่มสาว สะพายเป้เข้ามาพร้อมกับใบหน้าแห่งความสับสน งุนงงกับชีวิต ไม่รู้ว่าตัวเอง ต้องการอะไร ตัวเองคือใคร และ ชีวิตคืออะไร ชีวิตมีความหมาย มี คุณค่าอย่างไร

ผู้เขียนเป็นอาสาสมัครในทุก โครงการ ด้วยยังไม่ชัดว่าจริง ๆ แล้วตัวเองต้องการจะทำอะไรกันแน่ โดยการเป็นอาสา สมัครนั้นจะต้องทำงานอย่างน้อยวันละสี่ชั่วโมง เพื่อ แลกกับอาหารและที่พักฟรี นอกเหนือจากเวลาทำงานแล้ว พวกเขาแนะนำให้ผู้เขียนใช้เวลากับห้องสมุดของชุมชน ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่สำคัญของชุมชน ใน นั้นเต็มไปด้วยหนังสือกว่าสองหมื่นเล่ม ที่เป็น หนังสือในข่ายแนวคิดทางเลือก หนังสือของอาจารย์สุ ลักษณ์มีเป็นตู้ ๆ เปิดอ่านดูก็รู้สึกว่าทำไมฉันไม่ เคยอ่านหนังสือพวกนี้มาก่อนตอนเรียนการพัฒนาชุมชน เปิด อ่านหนังสืออื่น ๆ อีกหลายเล่มก็ยิ่งรู้สึกว่า ฉันนี่มันรู้อะไรน้อยจริง ๆ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ร่ำเรียนมาเกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับสังคม ชุมชน ชีวิตมนุษย์ ธรรมชาติกลับทำให้ฉันเห็นโลกอย่างคับแคบ ทั้ง ที่โลกมันกว้างใหญ่ถึงเพียงนี้ เมื่อเทียบกับสิ่ง ที่ได้รู้จากหนังสือไม่กี่เล่มที่ได้อ่าน แทบจะ เรียกได้ว่า สิ่งที่ฉันรู้มาทั้งหมดนั้น เหมือนฉันไม่รู้อะไรเลย ยิ่งไปอ่านหนังสือทางจิตวิญญาณจากสำนักต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างมาก ทั้งสำนักสวนโมกข์ สำนักธิเบต สำนักกฤษณมูรติ หรือที่ไม่ใช่ สำนักไหนแต่เป็นบทเรียนทางจิตวิญญาณที่ผ่านประสบการณ์ของบรรดาผู้เขียนเหล่า นั้น ก็ให้รู้สึกแย่ลงไปอีกว่า อย่าว่าแต่โลกและจักรวาลอันกว้างใหญ่เลย แม้ แต่ตัวเองฉันก็แทบไม่รู้จักมันเลย เพียงรู้ว่าตัวเองชื่ออะไร เป็นลูกใคร ทำอะไรมา แต่ภายในตัวเองนั้นไม่ รู้อะไรเลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชีวิตนั้นมันมีด้านใน อยู่ การได้รู้ว่าตัวเอง ไม่รู้อะไรนี้ มันช่างเศร้านัก

แต่ภายในชุมชนนี้มีครู มีรุ่นพี่ มีกัลยาณมิตร มีบรรยากาศที่คอยชี้แนะ เป็น กำลังใจ และให้โอกาสการเรียนรู้ใหม่ พวกเขาให้โอกาสและส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่โครงการต่าง ๆ จัดขึ้น รวมทั้งกิจกรรมขององค์กร เครือข่ายอย่าง เสมสิกขาลัย ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้หรือการศึกษาทาง เลือก ที่ทำงานมาพักใหญ่แล้ว ซึ่ง ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงด้านนอกกับด้านในเข้าด้วยกัน เรื่องของทักษะการคิด การปฏิบัติ ความ รู้สึก จิตใจ จิตวิญญาณ เป็นการศึกษาที่เรียนรู้ไปทั้งกระบวนของชีวิต มีเรื่องของสมาธิภาวนาอยู่ในกระบวนการ เรียนรู้เป็นเอกลักษณ์

การเปลี่ยนงานไปเรื่อย ๆ ในระหว่างเป็นอาสาสมัคร การมีเวลาอ่านหนังสือ การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ จน ผ่านไปหกเดือน ผู้เขียนจึงเห็นตัวเองชัดขึ้นว่าชอบ การศึกษาวิจัย การเขียน การ เดินทาง จึงเดินเข้าไปบอกพี่ประชา ใน ฐานะครูและผู้นำของชุมชนว่า ผู้ศึกษาเห็นตัวเองเป็น เช่นนี้ ก็ได้รับคำแนะนำส่งเสริมว่า ให้ไปเข้าคอร์สวิปัสสนาโกเอ็นก้าสิบวันแล้วกลับมาคุยกันใหม่

ยิ่งได้ไปวิปัสสนาเข้มข้น เช่นนั้นก็ยิ่งเห็นว่า ตัวเองนี้ช่างไม่รู้อะไรเลย จริง ๆ ไม่รู้จักอาณาจักรตัวตนอันยิ่งใหญ่ของตัวเอง เอาเสียเลย ทั้งที่อยู่กับมันมาเสียนาน แต่ก็ยินดีที่ได้เริ่มต้นเรียนรู้มันที่นี่ เมื่อกลับมาแล้วก็ยังคงยืนยันความสนใจเดิมของตน จึงได้รับการเสนอว่า สนใจอยากจะ ทำโครงการศึกษาวิจัยชุมชนทางเลือกในเมืองไทยหรือไม่ ซึ่ง โครงการนี้จะต้องเดินทางไปศึกษาชุมชนทางเลือกสิบแห่งทั่วทุกภาค รวมทั้งอาศรมวงศ์สนิทด้วย แล้ว เขียนรายงานออกมาสิบเล่ม เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งโครงการนี้ก็เป็นที่มาของบทความในคอลัมน์นี้ด้วย

ผู้เขียนมิได้หมายมุ่งที่จะ ยกเรื่องของตนให้เด่นขึ้นมา (แม้จะอยากอวดอยู่ว่าตัวเองโชคดีที่ได้เข้าสู่อาศรมวงศ์สนิทในช่วงวัยนี้) แต่อยากมุ่งให้เห็นบรรยากาศของชุมชนในเรื่องการส่งเสริม การเรียนรู้ด้านใน ที่เป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของชุมชน อาศรมวงศ์สนิทเป็นทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนใน แนวคิดทางเลือก ทดลองเรียนรู้แนวคิดการพัฒนาใหม่ ๆ ทั้งในแง่สังคม ชีวิต จิตวิญญาณ พวกเขามีโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการในแนวทางเลือก และเป็นชุมชนที่นักกิจกรรมใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเหมือนหมู่ บ้าน มีเป้าหมายร่วมกัน มี วิถี มีวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ร่วมกัน บรรยากาศของชุมชนนั้นจัดให้เอื้อ ส่ง เสริม การ เรียนรู้ด้านใน ของสมาชิก ก่อนที่จะลงไปในประเด็นนี้ อยาก จะเล่าถึงการริเริ่มอาศรมวงศ์สนิทเสียสักหน่อย เพื่อ ให้เห็นความเป็นมาของแนวคิด และเป็นการให้เกียรติ ผู้ร่วมก่อตั้งบุกเบิก

อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ถือเป็น นักแสวงหาอาวุโสผู้ไม่ยอมจำนนต่อความเป็นไปที่เห็นว่าผิดทิศทาง โดยเฉพาะในแง่ของการพัฒนากระแสหลักที่มุ่งสร้างความเจริญ ทางวัตถุ การเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย มิได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เติบโตทางจิตวิญญาณ อาศรม วงศ์สนิทก็ถือเป็นผลงานการแสวงหาอีกชิ้นหนึ่งของท่าน ร่วม กับกัลยาณมิตรและสานุศิษย์ และมีผลงานการแสวงหา เพื่อชีวิต สังคม และ ธรรมชาติอีกหลายชิ้นที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง โดย เฉพาะในต่างประเทศ จนทำให้อาจารย์ได้รับการเสนอชื่อ ให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง แม้ เมื่อเทียบอาศรมวงศ์สนิทกับผลงานชิ้นอื่น ๆ แล้ว อาจ ดูเหมือนอาศรมฯเป็นผลงานชิ้นเล็ก ๆ แต่ก็เป็นความ หวังอันยิ่งแก่การเรียนรู้ตนของลูกศิษย์และลูกหลานนักแสวงหาชั้นหลัง ๆ

การสร้างชุมชนแบบอาศรมเพื่อเป็นที่ทดลองใช้ชีวิตทางเลือกที่ต่างจากชีวิตใน กระแสหลักนั้นเป็นความคิดฝันหนึ่งของอาจารย์ร่วมกับคณะลูกศิษย์กลุ่มอหิงสา พวกเขาศึกษาแนวคิดของมหาตามะคานธี ผู้ สร้างอาศรมเป็นฐานในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย และ ได้รับอิทธิพลจากชาวเคว้กเกอร์ (Quaker) แห่งเมืองฟิลาเดลเฟีย ที่ สร้างชุมชนทวนกระแสขึ้นกลางเมืองฟิลาเดลเฟีย เพื่อ เป็นฐานในการสร้างสังคมใหม่ในสหรัฐ และเมื่อปี ๒๕๑๘ ที่มีการสัมมนา Asian Pasific Furum ที่จัดขึ้นในประเทศไทยอาจารย์และคณะลูกศิษย์ กลุ่มอหิงสาเข้าร่วมด้วย และมีท่านติช นัท ฮันท์ ผู้นำขบวนการชาวพุทธ แห่งเวียตนาม เข้าร่วมด้วยเช่นกัน และ ต่างก็เห็นตรงกันว่า น่าจะมีสถานที่สำหรับนัก กิจกรรมสังคม ได้พักผ่อนทางร่างกาย และจิตวิญญาณ ฝึกสมาธิภาวนา เพื่อฟื้นฟูจิตใจ และทำงานรับใช้สังคมอย่าง ยั่งยืน ศึกษาทำความเข้าใจตนเอง โดย อาศัยความสงบของธรรมชาติรอบตัว และการใช้ชีวิตอย่าง เรียบง่าย

จน กระทั่งในราวพ.ศ. ๒๕๒๖ ความคิดฝันนี้ก็เริ่มจะเป็น รูปเป็นร่างใกล้เคียงความจริงมากขึ้น เมื่ออาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ บุคคลหนึ่ง ที่อาจารย์สุลักษณ์เคยวิพากษ์วิจารณ์ต่อต้านอย่างหนัก และ เปลี่ยนความคิดหันมาเคารพนับถือเป็นอาจารย์ภายหลัง ได้ ถึงแก่อสัญกรรม จึงคิดสร้างอาศรมปรีดีเพื่อระลึกถึง ท่าน จึงร่างโครงการอาศรมปรีดี ภาย ใต้มูลนิธิปรีดีพนมยงค์ขึ้น มีการประชุมผู้ริเริ่ม ก่อตั้งครั้งแรกในเดือนธันวาคม ๒๕๒๖ เพื่อพูดคุยกัน ถึงแผนงานและการดำเนินชีวิตในอาศรม ซึ่งประกอบไป ด้วยการทำไร่ นา สวน งานบ้าน และงานด้านศิลปหัตถกรรม โดยคิดฝันร่วมกันว่า การดำเนิน ชีวิตของสมาชิกจะคล้ายกับชาวบ้านทั่วไป แม้สมาชิกจะ เป็นคนชั้นกลาง คนเมืองผู้มีการศึกษาสูง ก็ต้องศึกษาเรียนรู้จากชาวบ้านเพื่อการนี้

พวก เขาแยกย้ายกันไปดูงานและไปดูพื้นที่จุดต่างๆที่เป็นไปได้สำหรับการสร้าง อาศรมปรีดี ซึ่งมีทางเลือกอยู่สามแห่งคือ ๑) ที่ อ.วังน้อย จ.อยุธยา ๒) ข้างวัดพนมยงค์ ซึ่งทั้งสองแห่ง เป็นของมูลนิธิปรีดีพนมยงค์ และ ๓) ที่บริจาคจากคุณ หญิงจันทนี สันตะบุตรที่ จ.ราชบุรี พวกเขาตัดสินใจเลือกที่ของคุณหญิงจันทนีที่ จ.ราชบุรี ที่มีขนาดกว้างยาวได้สัดส่วนกัน เนื้อที่ มาก ปลูกต้นไม้ใหญ่ได้ ภูมิประเทศ สวยงาม จัดอาศรมฯได้ แม้ดิน หลายจุดจะเป็นดินปนหินและกันดารน้ำ ต้องลงทุนสร้าง แหล่งน้ำโดยการขุดสระหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะใช้งบ ประมาณในการปรับปรุงพื้นที่น้อยกว่าอีกสองแห่งที่เหลือ

แต่ เมื่อวางแผนร่างโครงการเสนอต่อมูลนิธิปรีดีพนมยงค์แล้ว ทาง มูลนิธิเห็นว่าการใช้ชื่อปรีดีอาศรมหรือการสังกัดมูลนิธิปรีดีพนมยงค์อาจทำ ให้เกิดปัญหาทางการเมืองได้ อาจารย์สุลักษณ์จึงเสนอ ให้ตั้งชื่อใหม่ และย้ายไปสังกัดมูลนิธิเสฐียรโก เศศ-นาคะประทีปก่อน คณะลูกศิษย์ก็เห็นด้วย และความประจวบเหมาะธรรมชาติช่วยจัดสรรให้ลงตัว เมื่อม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัต น์ บอกกล่าวแก่อาจารย์ว่า มี ที่อยู่แปลงหนึ่งทางรังสิต คลองสิบห้า อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นของคุณย่า (ม.ร.ว.เสงี่ยม ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐิ์) แล้วคุณย่ายกให้มารดาเธอ (หม่อมเสมอ สวัส ดิวัฒน์) ซึ่งต้องประสงค์จะยกที่ดินแปลงนี้เพื่อการ กุศล ใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา อาจารย์ สุลักษณ์เสนอให้คณะลูกศิษย์พิจารณาพื้นที่นี้ทำอาศรมดู เมื่อ พวกเขาลงไปดูพื้นที่และเห็นเป็นภูมิประเทศที่สวยงามน่าประทับใจ เป็นพื้นที่หัวมุมบรรจบของคลองสิบห้า และ คลองเก้า น้ำในคลองดูใสกระจ่าง แม้ จะมีเนื้อที่ไม่มาก (ประมาณ๓๔ไร่) แต่ ก็เหมาะที่จะสร้างชุมชนแบบอาศรมขึ้น จึงตกลงกัน เลือกพื้นที่นี้ โดยทางม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ขอให้ตั้งชื่ออาศรม เพื่อระลึกถึงคุณพ่อท่าน คือ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ จึงได้ชื่อว่า อาศรมวงศ์สนิท

ใน เดือนเมษายน ๒๕๒๗ นักฝันนักแสวงหาเหล่านั้นก็เข้าไป ใช้ชีวิตอยู่แบบชาวบ้าน ในความเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ เรียนรู้ด้านใน ในอาศรมวงศ์สนิท ชุมชนทวนกระแส ที่ห่างจากกรุงเทพฯ ศูนย์กลางสังคมกระแสหลักเพียงหนึ่งชั่วโมงของการเดินทางด้วยรถยนต์ แต่ชีวิตภายในนั้นต่างกันคนละทิศทาง และ การเดินทางของอาศรมวงศ์สนิทนับแต่การเริ่มลงมาใช้ชีวิตของกลุ่มบุกเบิกจนถึง วันนี้ ใช้เวลาเดินทางมากว่า ๒๑ ปีแล้ว

ภาพ ของอาศรมวงศ์สนิทในยุคบุกเบิกเริ่มแรกนั้น เป็นภาพ ที่แตกต่างจากอาศรมวงศ์สนิทในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ใน ครั้งบุกเบิกเริ่มแรกนั้น มีแผนงานที่มุ่งเน้นไปที่ การแสวงหาเรียนรู้ที่จะเป็นอยู่อย่างชาวบ้าน พยายาม พึ่งตนเองด้วยการเกษตรในวิถีที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ เป็น อยู่อย่างเรียบง่าย ใช้ฟืนใช้ถ่านในการหุงหาอาหาร ใช้หม้อดินไหดิน หาอยู่หากินกับ ธรรมชาติ ตกปลา หาหน่อไม้ ทอผ้าใช้เอง เป็นสิ่งที่นักแสวง หาชีวิตทางเลือกชนชั้นกลางต้องเรียนรู้จากชาวบ้านรอบๆ และ เรียนรู้จากธรรมชาติและความเป็นธรรมดาของชีวิต ช่วง บุกเบิกนี้ผู้เขียนเรียกว่าเป็น ยุคบุกเบิกของนักฝัน (๒๖๒๗ ๒๕๓๓)

ผ่านมาจนถึงยุคกลางที่ผู้ เขียนเรียกว่าเป็น ยุคแสวงหาของนัก อุดมคติ (๒๕๓๓ ๒๕๔๕) อันเป็นยุคที่นักแสวงหาหลากหลายกลุ่ม หลาก หลายอุดมคติและความมุ่งหวัง เข้ามาอยู่ใช้ชีวิตใน ชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างชุมชนในอุดมคติ และนักอุดมคติเหล่านี้ก็เป็นนักกิจกรรมสังคมด้วย ในยุคนี้จึงแตกต่างจากยุคแรกตรงที่ไม่ได้มุ่งเน้นที่การ ใช้ชีวิตเรียบง่ายในวิถีแบบชาวบ้าน แต่มุ่งแสวงหา รูปแบบการอยู่ร่วมกันของนักกิจกรรม นักอุดมคติที่ หลากหลาย พร้อมกันนั้นก็มุ่งทำงานกิจกรรมเพื่อสังคม ด้วย

จาก พ.ศ.๒๕๔๕ ปัจจุบันนี้ผู้เขียนเรียกว่าเป็น ยุคก้าวหน้าของนักกิจกรรม จุดเด่นของอาศรมวงศ์สนิทอยู่ที่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมในแนวทาง เลือก มีโครงการกิจกรรมต่างๆที่เป็นแนวคิดใหม่ หรือแนวคิดทางเลือก ที่พวกเขา คิดค้น แสวงหา นำมาทดลอง เรียนรู้แล้วเสนอเป็นทางเลือกแก่สังคม และได้รับการ ยอมรับ และการสนใจจากผู้แสวงหาทางเลือกมากขึ้น เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านดิน โครงการธรรมชาติบำบัด โครงการธรรมโฆษณ์ ศึกษา และอื่น ๆ สื่อต่าง ๆ ให้ความสนใจอาศรมวงศ์สนิทมากขึ้น ในฐานะองค์กร พัฒนาเอกชนที่ทำงานพัฒนา โดยมีฐานของการภาวนา การเรียนรู้ภายในและภายนอกควบคู่กันไป ในวงการพัฒนา ทางเลือกเองก็ยอมรับอาศรมวงศ์สนิทมากขึ้น

ส่วน ภาพภายในนั้นก็อาจจะแตกต่างจากยุคแรก ๆ นักกิจรรม หรือสมาชิกในยุคนนี้ไม่ได้ทอผ้าใช้เอง ไม่ได้ใช้ หม้อดินไหดิน ไม่ได้พึ่งพาธรรมชาติแวดล้อมรอบชุมชน ในการหาอยู่หากินอย่างเข้มข้นเช่นเคย แต่ก็ยังคง รักษาวิถีของความเรียบง่าย และพยายามที่จะไม่ฟุ้ง เฟื้อเกินความจำเป็นเช่นเคย และก็ยังคงให้การสนับ สนุนสมาชิกหรือนักแสวงหา นักเดินทางหาสัจจะ ได้มีโอกาสเรียนรู้ในตัว ค้นหา ภายในของตน เรียนรู้ด้านในของตน พัฒนา ศักยภาพที่ตนมี เรียนรู้รอบตัว แล้ว นำศักยภาพที่ตนมีออกมารับใช้สังคม เปลี่ยนแปลงสังคม ไปในทิศทางที่เห็นว่าถูกต้อง

ผู้สนใจเนื้อหาของอาศรมวงศ์สนิทในแต่ละยุคสมัยติดตามอ่านรายงานฉบับเต็มได้ ซึ่งจะนำมาเผยแพร่ในเร็ว ๆ นี้ ใน ที่นี้ผู้เขียนอยากจะเขียนถึงประเด็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามหัวข้อของบท ความนี้

อันเนื่องมาจากคำว่า เรียนรู้ ของชาวอาศรมวงศ์สนิทนั้นจะเป็นไปอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ตนเอง ค้นหา แสวงหา ภาย ในตนเอง หรือเรียนรู้ในชุมชน แสวง หารูปแบบการอยู่ร่วมกัน แสวงหาวิถีชีวิต ความเป็นชุมชนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตนเอง ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข หรือการ เรียนรู้ธรรมชาติ สังคม โลก เพื่อการแสวงหาสิ่งใหม่ แนวคิด ใหม่ ทางเลือกใหม่ในการใช้ชีวิต ใน การพัฒนาสังคม พวกเขาจึงมีคำจำกัดความหรือปรัชญาของ ชุมชนว่า เป็นชุมชนแห่งการ เรียนรู้ ผู้ที่ทำการเรียน รู้ก็คือสมาชิกในชุมชนทั้งการเรียนรู้อย่างเป็นปัจเจก และ การเรียนรู้ร่วมกัน ในที่นี้อยากจะเสนอถึงการเรียน รู้ด้านในของปัจเจกเป็นหลัก

ศิริพร โชติชัชวาลย์กุล เป็นคน หนึ่งในกลุ่มผู้ริเริ่มบุกเบิกอาศรมวงศ์สนิท ก่อน หน้านั้นเธอเป็นข้าราชการผังเมือง กระทรวงมหาดไทย แต่ด้วยความเบื่อหน่ายในความเร่งร้อนของชีวิตในสังคม เมืองที่ต้องตื่นแต่เช้า แย่งกันขึ้นไปเบียดเสียดบน รถเมล์ ก้มหน้าก้มตาทำงานที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองพอใจ จะทำจริงๆหรือเปล่า พอเลิกงานก็แย่งกันขึ้นไปเบียด เสียดบนรถเมล์อีก ถึงบ้านด้วยความเหนื่อยล้าหมดแรง วงจรชีวิตเป็นไปเช่นนี้ในแต่ละวัน เต็ม ไปด้วยสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เธอเห็นว่านี่ไม่ใช่ชีวิต ที่เธอต้องการ จึงร่วมกับอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และกัลยาณมิตรริเริ่ม บุกเบิกอาศรมวงศ์สนิท เรียนรู้จากชาวบ้านที่จะเป็น อยู่อย่างเรียบง่าย ฝึกพายเรือเพื่อหาปลากินเอง ฝึกขุดแปลงปลูกผัก หาบน้ำใช้ หาฟืน หาหน่อไม้ ทอผ้าใช้เอง อยู่ในบ้านที่ไม่หรูหรา สัมพันธ์เหนียวแน่นกับเพื่อนบ้าน ชาว บ้าน เธอเรียนรู้ที่จะใช้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์ เพื่อการมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย เป็นสุขและไม่ เบียดเบียนธรรมชาติ

การเรียนรู้และทดลองใช้ชีวิตในแนวทางนี้ของเธอจะมากด้วยความล้มเหลว เช่นปลูกผักไม่ขึ้น พายเรือไม่ เป็น ตัดฟืนไม่ได้ แบกฟืน ไม่ไหว ก่อไฟไม่ติด ทำกับ ข้าวไม่เป็น หุงข้าวไม่สุก ซึ่ง เป็นไปด้วยความอ่อนหัด ไม่มีทักษะเหล่านี้มาก่อน ประกอบกับสภาพพื้นที่ที่ไม่เอื้อเท่าไรนัก แม้ทัศนียภาพจะดูสวยงาม มีคลองน้ำ ใสจนเห็นเป็นสีฟ้าเขียว แต่นั่นก็เป็นเพราะมันเป็น น้ำเปรี้ยว ไม่เหมาะแก่การเกษตร ซึ่ง พวกเขาไม่ได้ตระหนักเรื่องนี้ในตอนเลือกพื้นที่ แต่ เธอก็ไม่เคยท้อถอย แม้เมื่อเพื่อนร่วมบุกเบิกด้วย กันจะถอนตัวออกไปจนเหลือเธอเป็นหลักอยู่คนเดียว ก็ ยังไม่คิดจะถอย ด้วยเธอตระหนักรู้ถึงภาวะด้านใน เรียนรู้ด้านในของตนเองอยู่เสมอ เธอ เห็นว่าตัวเองมีความสุข ความพอใจ ที่ ได้ทำสิ่งเหล่านั้น เธอพอใจที่ได้ปลูกผัก มีความสุขที่ได้ผ่าฟืน แบกฟืน ก่อไฟ ทำอาหารกินเอง เธอมีความ สุขอยู่แล้วจากการได้ทำสิ่งเหล่านี้ แม้ผักอาจจะไม่ ขึ้น ผ่าฟืนอาจจะไม่ขาด ไฟ อาจจะไม่ติด อาหารอาจจะไม่อร่อย แต่ ไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะความสุขอยู่ที่การได้ ทำ ถ้ายังทำไม่ได้ก็เรียนรู้ที่จะทำใหม่ ความสุขอยู่ที่การได้ทำเป็นหลัก มิ ใช่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการกระทำ