อาศรมวงศ์สนิท

ความเป็นมา

เมื่อปี ๒๕๒๗ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ นาคะประทีป ได้รับบริจาคที่ดินจำนวน ๓๔ ไร่ ๒ งาน จากทายาท ม.จ.ศุภสวัสดิ์ วงศ์สนิท และหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์ คือ ม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน์

คำว่า อาศรม เป็นภาษาสันสกฤต ในบริบทที่นำมาใช้หมายถึง สถานที่หรือชุมชนของบุคคลที่รักความสงบ เคารพคุณค่าของธรรมชาติ พร้อมกับอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดไปบนพื้นฐานของการ ภาวนาและสันติ ส่วนวงศ์สนิท นั้น เพื่อเป็นเกียรติแก่บิดาของท่านผู้มอบที่ดินให้ คือ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ จึงได้ตั้งชื่อว่า อาศรมวงศ์สนิท โดยกำหนดให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่แสวงหามิติที่ลึกซึ้งทางจิตวิญญาณของคน รุ่นใหม่ และเป็นที่พักในยามเหนื่อยล้าของนักกิจกรรมทางสังคม

ปี พ.ศ.๒๕๓๑ องค์กรศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก ประกาศให้พระยาอนุมานราชธนเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จึงสร้างอนุสรณ์สถานพระยาอนุมานราชธนขึ้น ณ อาศรมแห่งนี้ เพื่อเป็นศูนย์กิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมทางเลือก มีสัณฐาคารสำหรับประชุมสัมมนา และทำสมาธิภาวนา พร้อมทั้งเรือนพักใหญ่น้อยที่เรียบง่าย สำหรับผู้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมได้พักอาศัย

เกษตรธรรมชาติ เป็นอีกส่วนหนึ่งในการรองรับด้านสวัสดิการชุมชน ให้มีผัก ผลไม้ ที่ปลอดสารพิษบริโภคในชุมชน รวมทั้งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารของฝ่ายงานบ้านพักสัมมนา เพื่อให้ผู้มาใช้สถานที่ได้มีโอกาสบริโภคอาหารที่มีคุณค่า โดยมีกระบวนการผลิตแบบธรรมชาติ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีขึ้นของชุมชน และผู้ใช้บริการ

อาศรมวงศ์สนิทได้เปิดตัวออกรับใช้สังคมในวงกว้างขึ้น ด้วยเห็นว่าเมื่อได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพตัวเองแล้ว ควรนำศักยภาพนั้นออกมารับใช้สังคม เป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสังคมให้น่าอยู่จึงได้พัฒนาโครงการใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นที่ทำงานทั้งภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน โดยมียุทธศาสตร์ที่การศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนา

จุดมุ่งหมาย

  1. เพื่อเอื้ออำนวยสถานที่และจัดกิจกรรมให้คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในวงการต่าง ๆ ทั้งที่ทำงานและยังเป็นนักศึกษา ได้พัฒนาชีวิตด้านในด้วยการศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิภาวนา ตลอดจนพบปะพูดคุยกับนักอุดมคติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะพัฒนาความแข็งแกร่งภายในให้มีอุดมคติที่กล้าแข็ง มีพื้นฐานทางจิตวิญญาณที่มั่นคงและอ่อนโยน อันเนื่องมาจากการรู้จักตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ไม่ถูกกลืนโดยกระแสค่านิยมจอมปลอมของสังคม และมีกำลังวังชาคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ที่เกื้อกูลต่อสังคม
  2. เพื่อเป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาความคิดความอ่านให้ชัดเจนเกี่ยวกับงานที่ตนทำอยู่ และทิศทางของสังคมที่พึงปรารถนา ทั้งนี้เพื่อแสวงหาทางเลือกใหม่ให้แก่สังคมในด้านต่าง ๆ โดยอาศัยหลักศาสนธรรม วัฒนธรรมและมนุษยธรรมเป็นแกนกลาง เป็นการพัฒนาด้านลึกทางจิตใจและด้านสมอง เพื่อให้มองกว้าง เข้าใจความเป็นมาของสังคมในอดีต โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่มีมิติที่ลึกซึ้งกว้างไกลเช่นนี้ ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใด เขาย่อมสามารถใช้พลังความสามารถของเขาอย่างเต็มที่ เพื่อเกื้อกูลต่อสังคมวงกว้าง โดยตัวเขาก็จะมีความสุขและภาคถูมิใจในตนเองด้วย
  3. เพื่อเป็นแหล่งให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องการแสวงหาวิถีชีวิตแบบใหม่ ได้มาอยู่อาศัยร่วมกันเป็นชุมชนคือทุกคนมีชีวิตทางวัตถุที่เรียบง่าย การตัดสินใจขึ้นอยู่กับมติเอกฉันท์ของการตกลงร่วมกัน ชุมชนจะเกื้อกูลให้ทุกคนได้ทำงานตามความถนัดของตนอย่างเต็มศักยภาพด้วยการตระหนักถึงคุณค่าความสัมพันธ์ของชีวิตมนุษย์ สังคมและธรรมชาติ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือชุมชนนี้จะเป็นชุมชนทวนกระแสที่บอกให้สังคมรู้ว่า ชีวิตที่เรียบง่ายมีคุณค่าและมีความสุขนั้นเป็นไปได้ และถ้าสังคมวงกว้างจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ตกแล้ว จะต้องเปลี่ยนค่านิยมพื้นฐานเช่นนี้ แม้ไม่สามารถทำได้ในเร็ววันก็ตาม

ชุมชนอาศรมวงศ์สนิท

ชุมชนอาศรมวงศ์สนิท มีข้อตกลงการอยู่ร่วมกันในประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้

สมาชิกภาพ

อาสาสมัคร หรือ เจ้าหน้าที่ใหม่ต้องผ่านการประเมินผลงานโดยหัวหน้าฝ่ายนั้น ๆ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารภายหลังจากทำงานแล้ว ๓ เดือน และต้องผ่านการประเมินผลจากกรรมการชุมชนและสมาชิกชุมชนเก่าคนอื่นๆ ภายหลังจากใช้ชีวิตอยู่ในอาศรมวงศ์สนิทแล้วเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๙ เดือน หากได้รับการยอมรับจากสมาชิกเดิมเป็นมติเอกฉันท์จึงจะได้รับสมาชิกภาพโดยสมบูรณ์ สามารถใช้ชีวิตร่วมชุมชนกับสมาชิกคนอื่นๆ ภายในอาศรมวงศ์สนิทได้ แต่หากผ่านการประเมินผลงาน ๓ เดือนโดยไม่ผ่านการประเมินผลในเชิงความสัมพันธ์กับเพื่อนสมาชิกชุมชนในช่วงเวลา ๙ เดือน เขาผู้นั้นสามารถทำงานในอาศรมวงศ์สนิทได้ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยภายในชุมชน ปัจจุบันอาศรมวงศ์สนิทมีสมาชิกที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาศรมวงศ์สนิทโดยประมาณ ๒๐ คน (ทั้งนี้มีสมาชิกที่ใช้ชีวิตอยู่ภายนอกอาศรมด้วยเช่นกัน คือผู้ที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในอาศรมและมีความผูกพันเป็นญาติมิตรและรักอาศรมเป็นบ้านอีกหลังหนึ่ง)

ในจำนวนสมาชิก ๒๐ คนนี้ สมาชิกที่มีอายุมากที่สุดมีอายุ ๖๘ ปีเป็นศิลปินอาวุโสผู้เกษียณอายุและพักอาศัยอยู่ในอาศรมฯ และสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดมีอายุ ๒ ขวบเป็นเด็กหญิงตัวน้อยจากครอบครัวชาวขมุที่เป็นสมาชิกอยู่ในชุมชนอาศรมฯ มานับสิบปีแล้ว

สมาชิกที่อยู่อาศรมมาเป็นเวลายาวนานที่สุดคือแม่ครัวหัวป่า นามว่าแม่ยุพินที่อยู่มามากกว่า ๑๖ ปีแล้ว สมาชิกโดยส่วนใหญ่มีอายุการอยู่ในชุมชนตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไป และโดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๒๕-๔๐ ปี มากจากทั่วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งจากชนบทและเมือง

ระบบสวัสดิการ

๑) สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

  • เจ้าหน้าที่และครอบครัว (พ่อ, แม่, สามี, ภรรยา, บุตร) สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกินวงเงิน ๕,๐๐๐ บาทต่อปี และเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลแห่งใดก็ได้
  • กรณีที่ป่วยหนักหรืออุบัติเหตุหรือกรณีพิเศษอื่น ๆ ให้คณะกรรมการชุมชนและคณะกรรมการบริหารพิจารณาเป็นรายๆ ไป เช่น การผ่าตัด
  • การตรวจสุขภาพประจำปี การรักษาสุขภาพปากและฟันการรักษาแผนโบราณ และการตัดแว่น สามารถเบิกได้ตามข้อ

๒) สวัสดิการค่าเล่าเรียนบุตร (สำหรับผู้ที่ทำงานครบ ๑ ปีเต็ม)
เจ้าหน้าที่ที่มีบุตรสามารถเบิกค่าอุปกรณ์ในการเรียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้ ตามที่โรงเรียนเรียกเก็บ จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (เฉพาะโรงเรียนของรัฐบาล)

๓) กองทุนสะสมเพื่อสวัสดิการชาวอาศรมฯ
เป็นการออมเงินให้แก่สมาชิกไว้ใช้ในอนาคตและช่วยเหลือในยามจำเป็น เพื่อเป็นเงินกู้และเป็นเงินกู้ฉุกเฉินของสมาชิก

๔) กองทุนค่าตอบแทนพิเศษประจำปี
ค่าตอบแทนพิเศษมีไว้เพื่อให้สมาชิกได้มีเงินเก็บสะสมไว้ใช้ตอนออกจากงาน โดยจะได้รับเงินนี้ต่อเมื่อลาออกจากงานหรือเกษียณอายุเท่านั้น ทั้งนี้เป็นไปตามกฎระเบียบของมูลนิธิ ฯ

๕) การประกันชีวิต
สมาชิกทุกคนได้รับการประกันชีวิตและความคุ้มครองอุบัติเหตุจากการทำงาน

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้มาพักและเยี่ยมเยือน

อาศรมวงศ์สนิทสถานที่พักผ่อนสงบใจ ฝึกการใช้ชีวิตชุมชนที่เรียบง่าย สถานที่ฝึกฝนพัฒนาตนโดยมีภาวนาเป็นพื้นฐาน และสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อชีวิต สังคม ขอต้อนรับทุกท่านด้วยไมตรีจิต

ข้อควรงดเว้น

  1. หลีกเลี่ยงการเด็ดดอกไม้หรือหักกิ่งไม้โดยไม่จำเป็น
  2. ลดการใช้โฟมหรือพลาสติก ถ้านำเข้ามา กรุณานำออกไปด้วย
  3. ไม่ให้อาหารแมวหรือสุนัขในบริเวณที่รับประทานอาหาร หรือบนโต๊ะอาหาร
  4. ไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ภายในอาคาร และควรทิ้งก้นบุหรี่ในถังขยะ
  5. ไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยาเสพติด หรือการพนันเข้ามาภายในอาศรมวงศ์สนิท

ข้อควรปฏิบัติ

  1. ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยของอาคารสถานที่ต่าง ๆ
  2. ช่วยกันประหยัดน้ำ ไฟฟ้า กระดาษ ตลอดจนทรัพยากรอื่น ๆ
  3. ช่วยกันแยกขยะและทิ้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้ให้
  4. ช่วยล้างจานที่ท่านใช้รับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ซึ่งทางอาศรมฯได้เตรียมน้ำไว้ให้
  5. ช่วยกันรักษาความสงบ โดยเฉพาะระหว่างเวลา ๕.๐๐-๘.๐๐ น. และเวลา ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. และเวลานอนหรับผักผ่อนตั้งแต่เวลา ๒๒.๐๐ น. เป็นต้นไป
  6. ระหว่างพักอยู่ที่อาศรมฯ ขอให้เป็นโอกาสอันดีของท่านในการฝึกเจริญสติ ฝึกฝนพัฒนาตนเอง และเจริญเมตตาต่อสรรพสัตว์
  7. นำของใช้ที่ยืมจากชุมชนไปคืน หรือเก็บไว้ที่เดิมเมื่อใช้เสร็จ เช่น อุปกรณ์ เครื่องเขียน เครื่องครัว มุ้ง หมอน เป็นต้น
  8. ปิดประตู หน้าต่าง พัดลม ไฟฟ้า เมื่อออกจากที่พัก
  9. ท่านสามารถใช้โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ตได้ที่สำนักงานหรือบริเวณที่จัดไว้ตามวันเวลาที่กำหนด
  10. สำหรับผู้ที่มาพักโดยไม่เสียค่าบริการกรุณาเก็บทำความสะอาดเครื่องนอนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนจากไป
  11. ก่อนออกจากห้องกรุณาปิดประตู สำหรับสิ่งของมีค่าควรเก็บไว้กันตนเองหากเกิดการสูญหาย ทาง อาศรมฯจะไม่รับผิดชอบ
  12. โปรดให้ความเห็น คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงอาศรมฯ สำหรับการบริการท่านได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

การเตรียมตัว

  1. ถ้าแพ้ยุง ควรเตรียมยาทากันยุง ยาหม่องมาด้วย (มีจำหน่ายในร้านค้าสหกรณ์สัมมาชีพ)
  2. ควรนำไฟฉาย ร่ม (กรณีที่มาฤดูฝน)
  3. ถ้าหากมีกล้องดูนกถือติดมือมาด้วย ท่านจะได้ดูนกไม่ต่ำกว่า ๒๐-๓๐ ชนิด ยิ่งในช่วงฤดูหนาวจะมีนกหลากหลายชนิดอพยพหนีหนาวมาพักพิงที่นี่มากขึ้น

ภาพบรรยากาศ

แนะนำสถานที่

ลักษณะทางกายภาพ

อาศรมวงศ์สนิทตั้งอยู่ที่บริเวณคลอง ๑๕ หมู่ที่ ๓ ต. คลองใหญ่ อ. องครักษ์ จ. นครนายก เดิมทีเดียวเป็นที่นาเก่า เป็นคลองสาขาของคลองรังสิต (คลอง ๑๕) ขนาบอยู่สองด้านของผืนดิน มีลักษณะเป็นดินเปรี้ยว น้ำมีรสเปรี้ยว ไม่เหมาะแก่การทำเกษตรอย่างยิ่ง แต่ปัจจุบันดินได้รับการฟื้นฟูจนสามารถปลูกผักและต้นไม้ได้ ทำให้อาศรมวันนี้อุดมไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ วิธีการเข้าออกของอาศรมมีทางเดียวคือ การใช้โป๊ะข้ามคลอง แม้ค่อนข้างไม่สะดวกแต่ชาวอาศรมถือว่าโป๊ะเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว แสดงถึงความเรียบและทำให้ยากแก่การเข้าถึงเพื่อลดความอึกทึกพลุกพล่านในระดับหนึ่ง เมื่อสาวโป๊ะข้ามฝั่งคลองมาแล้ว จะมีศาลา “นักษัตร” ที่ท่าน้ำไว้นั่งพัก ถัดจากศาลาท่าน้ำนี้ขึ้นมาเป็นเขตพื้นที่ของชุมชน มีคันดินสูงประมาณสองเมตร กว้างสองถึงสามเมตรกั้นล้อมรอบพื้นที่ ๓๔ ไร่ คันดินนี้สร้างตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ หลังจากน้ำท่วมใหญ่เพราะพายุอีล่าเมื่อปี ๒๕๓๓ วัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม นอกจากนั้นยังมีการวางผังขุดสระและร่องน้ำเชื่อมต่อกันทั้งพื้นที่เพื่อการระบายน้ำเข้า-ออก ดินที่ได้จากการขุดสระและร่องน้ำก็นำมาถมพื้นที่ปรับยกให้สูงขึ้นให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญภายในอาศรมวงศ์สนิท

๑) สัณฐาคาร

ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) หรือพระเทพเวทีในขณะนั้นเป็นผู้เมตตาตั้งชื่ออาคารให้ “สัณฐาคาร” เป็นอาคารอเนกประสงค์ทรงไทยประยุกต์ ชั้นล่างเป็นโถงโล่งสำหรับการประชุมสัมมนาและห้องสมุด ชั้นบนเป็นห้องภาวนาที่กรุด้วยมุ้งลวด โปร่งสบาย ใช้สำหรับประชุมชุมชน สวดมนต์ภาวนา หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในยามค่ำคืน รอบ ๆ สันฐาคารมีไม้นานาพรรณ ทั้งโพธิ์ ไทร ปาริชาติ(ทองหลางลาย) จำปี จำปา พิกุล บุนนาค โมกป่า โมกซ้อน จันทร์ แก้ว ราชาวดี มะลิ ไม้ดอกทั้งหมดเป็นไม้ไทยที่ให้ดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม นอกจากปาริชาติ ๘ ต้นที่ระลึกถึงพระยาอนุมานฯ-พระสารประเสริฐ ผู้ร่วมกันแปล กามนิต-วาสิฎฐี ที่คู่พระคู่นางได้มารำพันรักและระลึกชาติกันที่ใต้ต้นปาริชาติ นอกจากนี้ไม้ที่สำคัญอีกสองต้นได้แก่ต้นสาละ(ลังกา)และต้นโพธิ์ที่ได้หน่อมาจากต้นโพธิ์แห่งเมืองอนุราธปุระแห่งศรีลังกา โพธิ์ต้นนี้ชาวลังกาถือว่าศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษเพราะได้หน่อมาจากต้นโพธิ์แห่งเมืองพุทธคยาอันเป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งตรัสรู้นั่นเอง พื้นที่บริเวณนี้จึงมีทั้งความสวยงามและร่มรื่น

๒) เรือนเสงี่ยมเสมอ

เรือนเสงี่ยมเสมอ หรือ ครัวรับรอง เป็นที่มาของอาหารสำหรับแขกผู้มาเยือนและชาวอาศรมทั้งหมด การทำอาหารที่อาศรมอาศรมเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ กินข้าวกล้องเป็นหลัก ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบให้น้อยที่สุด โดยงดเนื้อสัตว์ใหญ่ ไม่ใช้เครื่องปรุงรสบางชนิดเช่นผงชูรส หรือน้ำปลา

เรือนเสงี่ยมเสมอ ตั้งตามชื่อของคุณย่าและคุณแม่ของผู้บริจาคที่ดิน (ม.ร.ว.เสงี่ยม ในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์และหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์) ปัจจุบันชั้นบนเป็นที่พักเจ้าหน้าที่อาศรมและใช้รับรองแขกบางโอกาส ส่วนชั้นล่างเป็นที่รับประทานอาหาร

๓) วรรณาคาร

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้างจากมูลนิธิไฮริชเบิร์ล ประเทศเยอรมัน อุทิศแด่ ม.ร.ว. เสงี่ยม ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฐ์ และหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์ ท่านแรกเป็นเจ้าของที่ดิน

“วรรณาคาร” มาจากคำว่า วรรณะ คือ วรรณกรรม วรรณคดี วรรณศาสตร์ และวรรณศิลป์ เนื่องจากจุดมุ่งหมายเริ่มแรกต้องการสร้างเป็นห้องสมุด แต่ด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นมากเพราะตั้งอยู่กลางสระบัวและความชื้นจากฝนในหน้าฝน ทำให้หนังสือบวมเสียหาย จึงได้สร้างห้องสมุดในปี ๒๕๔๒ แล้วใช้วรรณาคารนี้เป็นสำนักงานและที่ประชุมกลุ่มย่อยจนถึงปัจจุบัน

ด้านหน้าวรรณาคาร ได้สร้างศาลาพวงร้อยขึ้น ด้วยทุนของทายาทท่านผู้หญิง ม.ล. พวงร้อย อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นธิดาของม.ร.ว. สุวพรรณ สนิทวงศ์ พี่ชาย ม.ร.ว. เสงี่ยม โดยที่ท่านผู้นี้ได้บุกเบิกทุ่งและคลองรังสิตทั้งหมด นับเป็นงานชิ้นสำคัญของกรุงสยามเมื่อศตวรรษที่แล้ว

๔) บ้านดิน

สิ่งปลูกสร้างจากวัสดุธรรมชาติ บ้านดิน ประกอบไปด้วย หอประชุมศุภสวัสดิ์ ศาลาน้ำชา ๓ หลัง กระท่อมภาวนา ๑ หลัง ร้านกระจายสินค้าชุมชน

หอประชุมศุภสวัสดิ์ ตั้งชื่ออาคารตามพระนามของ ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท แต่มักเรียกกันว่า “หอประชุมบ้านดิน” เป็นตัวอย่างบ้านดินที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน ใช้เป็นที่จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาภาคกลางวัน จุคนได้ประมาณ ๓๐ – ๕๐ คน ด้านหน้าและด้านหลังมีศาลาน้ำชาที่ทำด้วยดินอีกสองหลัง สำหรับเป็นที่ประชุมกลุ่มย่อย

นอกจากนี้ ยังมีกระท่อมภาวนาหลังน้อยซึ่งอยู่ใกล้กุฏิ ๑ หลัง ศาลาน้ำชาที่อยู่ด้านหลังห้องสมุดอีก ๓ หลัง และร้านกระจายสินค้าซึ่งปลูกอยู่ริมคลองข้างโป๊ะที่เป็นจุดเข้า-ออกอีก ๑ หลัง

ทั้งนี้ ชุมชนอาศรมฯได้เปิดให้เข้าชมและรับจัดเรียนรู้เรื่องการสร้างบ้านดินอีกด้วย

๕) บ้านพักเรือนไทย

บ้านพักสัมมนาอาศรมวงศ์สนิท ห้องพักเรือนไทยที่บรรยากาศร่มรื่น กลางแมกไม้นานาพันธุ์ เหมาะแก่การพักผ่อน เจริญสติ หรืออบรมสัมมนาแบบส่วนตัว มีทั้ง เรือนพักเดี่ยว-คู่ และเรือนพักรวมซึ่งรองรับได้ถึง ๓๐-๖๐ ท่าน สนในสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐๘๙ ๔๐๓ ๒๕๕๗ หรือ inbok fb.wongsanit ashram

แนะนำสถานที่

ลักษณะทางกายภาพ

อาศรมวงศ์สนิทตั้งอยู่ที่บริเวณคลอง ๑๕ หมู่ที่ ๓ ต. คลองใหญ่ อ. องครักษ์ จ. นครนายก เดิมทีเดียวเป็นที่นาเก่า เป็นคลองสาขาของคลองรังสิต (คลอง ๑๕) ขนาบอยู่สองด้านของผืนดิน มีลักษณะเป็นดินเปรี้ยว น้ำมีรสเปรี้ยว ไม่เหมาะแก่การทำเกษตรอย่างยิ่ง แต่ปัจจุบันดินได้รับการฟื้นฟูจนสามารถปลูกผักและต้นไม้ได้ ทำให้อาศรมวันนี้อุดมไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์

วิธีการเข้าออกของอาศรมมีทางเดียวคือ การใช้โป๊ะข้ามคลอง แม้ค่อนข้างไม่สะดวกแต่ชาวอาศรมถือว่าโป๊ะเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว แสดงถึงความเรียบและทำให้ยากแก่การเข้าถึงเพื่อลดความอึกทึกพลุกพล่านในระดับหนึ่ง

เมื่อสาวโป๊ะข้ามฝั่งคลองมาแล้ว จะมีศาลา “นักษัตร” ที่ท่าน้ำไว้นั่งพัก ถัดจากศาลาท่าน้ำนี้ขึ้นมาเป็นเขตพื้นที่ของชุมชน มีคันดินสูงประมาณสองเมตร กว้างสองถึงสามเมตรกั้นล้อมรอบพื้นที่ ๓๔ ไร่ คันดินนี้สร้างตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ หลังจากน้ำท่วมใหญ่เพราะพายุอีล่าเมื่อปี ๒๕๓๓ วัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
นอกจากนั้นยังมีการวางผังขุดสระและร่องน้ำเชื่อมต่อกันทั้งพื้นที่เพื่อการระบายน้ำเข้า-ออก ดินที่ได้จากการขุดสระและร่องน้ำก็นำมาถมพื้นที่ปรับยกให้สูงขึ้นให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง

 

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญภายในอาศรมวงศ์สนิท

๑) สัณฐาคาร

ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) หรือพระเทพเวทีในขณะนั้นเป็นผู้เมตตาตั้งชื่ออาคารให้
“สัณฐาคาร” เป็นอาคารอเนกประสงค์ทรงไทยประยุกต์ ชั้นล่างเป็นโถงโล่งสำหรับการประชุมสัมมนาและห้องสมุด ชั้นบนเป็นห้องภาวนาที่กรุด้วยมุ้งลวด โปร่งสบาย ใช้สำหรับประชุมชุมชน สวดมนต์ภาวนา หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในยามค่ำคืน

รอบ ๆ สันฐาคารมีไม้นานาพรรณ ทั้งโพธิ์ ไทร ปาริชาติ(ทองหลางลาย) จำปี จำปา พิกุล บุนนาค โมกป่า โมกซ้อน จันทร์ แก้ว ราชาวดี มะลิ ไม้ดอกทั้งหมดเป็นไม้ไทยที่ให้ดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม นอกจากปาริชาติ ๘ ต้นที่ระลึกถึงพระยาอนุมานฯ-พระสารประเสริฐ ผู้ร่วมกันแปล กามนิต-วาสิฎฐี ที่คู่พระคู่นางได้มารำพันรักและระลึกชาติกันที่ใต้ต้นปาริชาติ

นอกจากนี้ไม้ที่สำคัญอีกสองต้นได้แก่ต้นสาละ(ลังกา)และต้นโพธิ์ที่ได้หน่อมาจากต้นโพธิ์แห่งเมืองอนุราธปุระแห่งศรีลังกา โพธิ์ต้นนี้ชาวลังกาถือว่าศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษเพราะได้หน่อมาจากต้นโพธิ์แห่งเมืองพุทธคยาอันเป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งตรัสรู้นั่นเอง พื้นที่บริเวณนี้จึงมีทั้งความสวยงามและร่มรื่น

๒) เรือนเสงี่ยมเสมอ

เรือนเสงี่ยมเสมอ หรือ ครัวรับรอง เป็นที่มาของอาหารสำหรับแขกผู้มาเยือนและชาวอาศรมทั้งหมด การทำอาหารที่อาศรมอาศรมเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ กินข้าวกล้องเป็นหลัก ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบให้น้อยที่สุด โดยงดเนื้อสัตว์ใหญ่ ไม่ใช้เครื่องปรุงรสบางชนิดเช่นผงชูรส หรือน้ำปลา

เรือนเสงี่ยมเสมอ ตั้งตามชื่อของคุณย่าและคุณแม่ของผู้บริจาคที่ดิน (ม.ร.ว.เสงี่ยม ในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์และหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์) ปัจจุบันชั้นบนเป็นที่พักเจ้าหน้าที่อาศรมและใช้รับรองแขกบางโอกาส ส่วนชั้นล่างเป็นที่รับประทานอาหาร

๓) วรรณาคาร

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้างจากมูลนิธิไฮริชเบิร์ล ประเทศเยอรมัน อุทิศแด่ ม.ร.ว. เสงี่ยม ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฐ์ และหม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์ ท่านแรกเป็นเจ้าของที่ดิน

“วรรณาคาร” มาจากคำว่า วรรณะ คือ วรรณกรรม วรรณคดี วรรณศาสตร์ และวรรณศิลป์ เนื่องจากจุดมุ่งหมายเริ่มแรกต้องการสร้างเป็นห้องสมุด แต่ด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นมากเพราะตั้งอยู่กลางสระบัวและความชื้นจากฝนในหน้าฝน ทำให้หนังสือบวมเสียหาย จึงได้สร้างห้องสมุดในปี ๒๕๔๒ แล้วใช้วรรณาคารนี้เป็นสำนักงานและที่ประชุมกลุ่มย่อยจนถึงปัจจุบัน

ด้านหน้าวรรณาคาร ได้สร้างศาลาพวงร้อยขึ้น ด้วยทุนของทายาทท่านผู้หญิง ม.ล. พวงร้อย อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นธิดาของม.ร.ว. สุวพรรณ สนิทวงศ์ พี่ชาย ม.ร.ว. เสงี่ยม โดยที่ท่านผู้นี้ได้บุกเบิกทุ่งและคลองรังสิตทั้งหมด นับเป็นงานชิ้นสำคัญของกรุงสยามเมื่อศตวรรษที่แล้ว

๔) บ้านดิน

สิ่งปลูกสร้างจากวัสดุธรรมชาติ บ้านดิน ประกอบไปด้วย หอประชุมศุภสวัสดิ์ ศาลาน้ำชา ๓ หลัง กระท่อมภาวนา ๑ หลัง ร้านกระจายสินค้าชุมชน

หอประชุมศุภสวัสดิ์ ตั้งชื่ออาคารตามพระนามของ ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท แต่มักเรียกกันว่า “หอประชุมบ้านดิน” เป็นตัวอย่างบ้านดินที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน ใช้เป็นที่จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาภาคกลางวัน จุคนได้ประมาณ ๓๐ – ๕๐ คน ด้านหน้าและด้านหลังมีศาลาน้ำชาที่ทำด้วยดินอีกสองหลัง สำหรับเป็นที่ประชุมกลุ่มย่อย

นอกจากนี้ ยังมีกระท่อมภาวนาหลังน้อยซึ่งอยู่ใกล้กุฏิ ๑ หลัง ศาลาน้ำชาที่อยู่ด้านหลังห้องสมุดอีก ๓ หลัง และร้านกระจายสินค้าซึ่งปลูกอยู่ริมคลองข้างโป๊ะที่เป็นจุดเข้า-ออกอีก ๑ หลัง

ทั้งนี้ ชุมชนอาศรมฯได้เปิดให้เข้าชมและรับจัดเรียนรู้เรื่องการสร้างบ้านดินอีกด้วย

๕) บ้านพักเรือนไทย

บ้านพักสัมมนาอาศรมวงศ์สนิท ห้องพักเรือนไทยที่บรรยากาศร่มรื่น กลางแมกไม้นานาพันธุ์ เหมาะแก่การพักผ่อน เจริญสติ หรืออบรมสัมมนาแบบส่วนตัว มีทั้ง เรือนพักเดี่ยว-คู่ และเรือนพักรวมซึ่งรองรับได้ถึง ๓๐-๖๐ ท่าน สนในสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐๘๙ ๔๐๓ ๒๕๕๗ หรือ inbok fb.wongsanit ashram

Copyright © 2024 อาศรมวงศ์สนิท. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes