ปฏิวัติเงียบ คือ อิทัปปัจจยตา
การเริ่มต้นฝึกฝนเรื่องจิต..เป็นเรื่องใหญ่และ ยากที่จะเข้าใจ สิ่งสำคัญคือ การฝึกฝนอย่างจริงจัง ทุ่มเทกำลังกายใจเข้าสู่สภาวะธรรมจนกระทั่งไม่อาจให้..สิ่งใด..เข้าทำร้าย จิต..ที่จะทำให้เกิดความผิดหวังและใช้ความผิดหวังเข้าไปทำร้ายผู้อื่น..
โครงการธรรมโฆษณ์ศึกษา พุทธทาสภิกขุ เปิดตัวด้วยบรรยากาศเคร่งขรึมร่มรื่นในหอประชุมบ้านดิน ภายในอาศรมวงศ์สนิท คลอง 15 อากาศยามสายปลายฤดูหนาวขับกล่อมบทบรรเลงธรรมโฆษณ์ ผ่านความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณ อิทัปปัจจยตา.หลักการเข้าสู่ธรรมชาติบทแรกที่มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี ปลุกเร้าให้ศาสนิกเข้าสู่หนทางแห่งการปฏิวัติเงียบ..
อิทัปปัจจยตา ..เป็นส่วนหนึ่งของการปฎิบัติที่เรียกว่า การปฎิวัติเงียบ ไม่ทำร้ายผู้ใด หากเป็นการเชื่อมโยงจิตใจเข้าสู่สาเหตุ เหตุการณ์ของโลก เชื่อมโยงเข้าหาสิ่งดีดี เรียกว่า คิดดี พูดดี ทำดี เชื่อมโยงกับเรื่องราวทางสังคม ซึ่งหากฝึกฝนบ่อย ๆ จะเป็นการเห็นโครงสร้างสังคมทั้งสังคม คือ สติทำให้เข้าถึงความดี ความงาม เป็นที่มาของการปฎิวัติเงียบ ที่ไม่ได้แปลว่า..การใช้อาวุธ ใช้ความรุนแรงเข้าห้ำหั่นประหัตประหารกัน หากนิยามการปฎิวัติแนวทางนี้ หมายถึง การใช้วิธีคิด ใช้ปัญญา สร้างคุณค่า ลดทอนความรุนแรง หาคุณค่าใหม่ เป็นการปฎิวัติที่ไม่ได้ทำร้ายหรือยึดอำนาจใคร …
การทำงานเรื่องสันติภาพมีหลายแง่มุม การ พัฒนากระบวนการทางจิตเป็นหนทางหนึ่งหากต้องน้อมนำเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่น ..ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเพราะการสร้างระบบราชการรวบศูนย์อำนาจเอา ไว้..โดยไม่คำนึงถึงมิติของวัฒนธรรมท้องถิ่น…เหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ แม้เป็นวัฒนธรรมอิสลาม แต่การใช้วัฒนธรรมแห่งสันติวิธีเข้าไปเชื่อมโยงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และการเริ่มต้นทำงานทางด้านสันติภาพแม้จะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่ก็จะสร้างความสงบสุขได้ในระยะยาว ..ใช่ว่า..เอะอะก็ส่งทหารหรือเกรี้ยวกราดกับนายทหารในพื้นที่..กดดัน รัฐมนตรี ..วิธีการจัดการกับเหตุการณ์ภาคใต้ตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มคนที่ทำงานเอา จริงเอาจังและอาศัยการทำความเข้าใจมากกว่ากดดัน ซึ่งจะนำเข้าสู่งานพัฒนาเพื่อสันติภาพที่เป็นจริง ในระยะยาว..
อารยธรรมมนุษย์..เกิด ขึ้นภายหลังการเกิดจักรวาลในดาราจักรของเราหลังจากนั้นเนิ่นนาน ดวงดาวที่เราเห็นจึงเปรียบได้กับเม็ดทรายนับจำนวนล้านในจักรวาลอันกว้างใหญ่ ไพศาลนี้ ..จักรวาลเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่โตเกินจินตนาการที่มนุษย์จะทำความเข้าใจ ได้หากภายใต้การก่อเกิดอารยธรรมของมนุษย์ขึ้นมาในตะวันออกกลางที่เรียกว่า วัฒนธรรมเมโสโปเตเมียร์..และการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์นั้นสั้นกว่ามากที่ เกิดขึ้นในยุโรป ..วิทยาศาสตร์ได้รับการพัฒนาเป็นวิธีการหาความเข้าใจที่เรียกได้ว่า คมชัดและลึกมาก..เพียงแต่วิธีการเหล่านั้นถูกใช้ไปในทางอำนาจ เช่น ไปทำปืน ปืนใหญ่ เรื่อรบ จนถึงนิวเคลียร์ อันเป็นมาตรฐานทางอำนาจระดับสูงอย่างที่มนุษย์ไม่เคยเจอมีมาก่อน ในแง่ของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และใช้อำนาจเหล่านี้เข้ายึดประเทศเล็กประเทศน้อย ยึดฐานทางทรัพยากร อย่างที่รับรู้กันในปัจจุบัน..
คนยุโรปใช้อำนาจทางวิทยาศาสตร์..สร้างวิทยาการ เพื่อทำการประหัตประหาร เป็นอำนาจที่ใหม่และนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ อย่างที่เราได้รับรู้ ..สังคมมนุษย์ปัจจุบันได้รับความเครียดเพิ่มมากขึ้น ..ตามวิทยาการต่าง ๆ ที่เจริญเติบโตขึ้น สังคมสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปมากมายแต่จิตใจและระบบร่างกายไม่ได้เปลี่ยน แปลงไปตามวันเวลาอย่างในปัจจุบัน เราพบว่า ยาที่ขายดี 3 ชนิดในโลกล้วนเป็นยาที่ใช้แก้ไขโรคเครียด..หนึ่งยากล่อมประสาท สองยารักษาความดันโลหิตสูง สามยารักษาแผลในกะเพาะอาหาร..เกิดเป็นพยาธิสภาพทางสังคม..ยกตัวอย่าง ในประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จสูงทางด้านวิทยาการและเศรษฐกิจ อย่างในปัจจุบัน คนขยันมากเศรษฐกิจดีแต่ช่วงวันเวลาเหล่านั้นผ่านไประบบเศรษฐกิจตกต่ำคนว่าง งานและแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายเรือนหมื่นและเกิดสภาพเครียดจำนวนมาก ..ไอน์สไตน์ เคยพูดไว้ว่า มนุษยชาติจะอยู่รอดได้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีคิดเสียใหม่โดยสิ้นเชิง..
วิถีคิดใหม่ คือ อะไร..เมื่อไม่นานนักปราชญ์ชาวตะวันตกสามคนเคย คุยกันก่อนจะเกิดกรณี 11 กันยายน และข้อความตอนหนึ่งบอกว่า อารยธรรมตะวันตกจะนำโลกทั้งโลกสู่วิกฤติการอย่างรุนแรง อารยธรรมวัตถุนิยม บริโภคนิยมไม่มีทางที่จะขับเคลื่อนเข้าสู่แนวทางการพัฒนาสันติและทำให้สังคม สมบูรณ์โดยตัวของมันเอง..และอารยธรรมตะวันตกก็มีปัญหาเรื่องวิถีคิด เพราะเป็นการคิดแบบแยกส่วน…และก่อปัญหาซึ่งการคิดนั้นเป็นเรื่องความจำ และความจำนั้นเป็นอดีต เมื่อเราเข้าสู่ความคิดเราจะมองไม่เห็นปัจจุบันและจะขัดแย้งเรื่องความจริง ในปัจจุบัน..
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราเอง..และคนรอบข้าง ต้องมีจริยธรรมเป็นส่วนเชื่อมร้อย เพราะฉะนั้นตัวปัญญาจะมีจริยธรรมเป็นกลจักรทำให้เคลื่อนไหว..แต่สังคมยุค ใหม่กำลังใช้ปัญญาเป็นเรื่องหลักใหญ่เท่านั้น ไม่มีจริยธรรมเป็นกรอบกำหนด ความรู้ที่ขาดจริยธรรมทำให้ความรู้ถูกแปรเป็นอำนาจ แปรวิทยาการเป็นเครื่องมือเข่นฆ่า แก่งแย่งเอาจากกลุ่มคนที่มีอำนาจด้อยกว่า..
อิทัปปัจจยตา จะเกิดได้ต้องอยู่ภายใต้ มัชฌิมาปฎิปทา..มัชฌิมาปฎิปทา เข้าใจง่าย ๆ เพียงประโยคเดียว คือ การไม่เข้าสู่ความสุดโต่งทั้งสอง ด้านหนึ่ง คือ กามสุขขา..คือ ติดอยู่ข้างในความสุข อีกทาง คือ การปฎิเสธทุกอย่างอันจะเป็นการทรมานตน ..เป็นทางสายกลาง ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ และปัญญา คนส่วนใหญ่ยังค่อนข้างสับสนกับเรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องที่พูดคุยกันมากหมายความว่า อาจจะมีความรู้ ..ความรู้จากห้องเรียนที่เน้นเรื่องราวรอบ ๆ ตัวเปรียบได้ดั่งอาภรณ์ประดับที่สวยงามหากกลับทำให้จิตใจเลวลงหรือไม่ ..การเรียนรู้ที่ดีจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับเรื่องจิตใจภายในตนเอง จะศึกษาจะเรียนรู้อะไรก็ตามเราต้องตอบให้ได้ว่าเราเป็นคนดีขึ้นหรือเปล่า มีความสุขมีอิสระที่จะคิดทำขึ้นด้วยหรือเปล่า..การศึกษาทุกวันนี้ล้วนเป็นการศึกษาเพื่อแต่งตัวเพียงเท่านั้น เรื่องราวภายในกลับแย่ลง เพราะฉะนั้นเรื่องการเรียนรู้นั้น คือ ปัญหาใหญ่ในยุคนี้
เชื่อไหมว่า มนุษย์มีศักยภาพที่สูงมากกว่านั้น ..โครง สร้างของสมองมีศักยภาพมากกว่าการใช้หาความรู้มาประดับร่างกายแต่วิธีการที่ เราเรียนรู้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้เชื่อมโยงเข้าสู่ภายใน เป็นการใช้ที่ผิดทาง..การเรียนรู้ที่ถูกวิธีสามารถแลเห็นความจริงได้..บรรลุ ความจริง บรรลุความงาม เกิดมิตรภาพ ต่อสรรพสิ่ง มีมิตรภาพอันไพศาลต่อโลก อิสระภาพและความสุข.. คำถามแรกที่ทุกคนควรจะเกิดขึ้นในใจ คือ ..การเรียนรู้ที่ดีที่เกิดขึ้นในวิถีของมนุษย์นั้น เป็นอย่างไร อะไรคือเรื่องที่ดีงาม การเรียนรู้ที่ดีสามารถทำให้เราเกิดปัญญาที่จะเข้าถึงความดีงามอย่างไรก็ได้ กระบวนการคิดและตอบตัวเองว่า กระบวนการการเรียนรู้ที่ดีงามอย่างที่ควรจะเป็นไปทั้งสังคมนั้นควรจะเป็น อย่างไร..และต้องแสวงหาช่วยเพื่อนมนุษย์สู่กระบวนการการเรียนรู้ที่ดีงาม ได้..
เพราะสิ่งนี้มี ..สิ่งนี้จึงเกิด..เพราะสิ่งนี้ไม่มี..สิ่งนี้จึงไม่เกิด ไม่ มีอะไรที่มีหรือไม่มีโดยตัวของมันเองต้องไม่สุดโต่งในทางใดทางหนึ่งเพราะ วิถีคิดอย่างนั้น ย่อมเป็นเรื่องของการแยกส่วนที่ตายตัว การมีหรือไม่มีล้วนเป็นไปตามเงื่อนไขของเหตุปัจจัยต่าง ๆ ทั่วทั้งจักรวาล สรรพสิ่งถึงเป็นอนิจจัง คือ ความไม่ตายตัวล้วนแล้วเชื่อมโยงสู่ข่ายใยเดียวกันและเปลี่ยนแปลงตามเหตุ ปัจจัยที่เกิดเป็นความหมายของ อิทัปปัจยตา สัจจะกระแสเดียวที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด…ธรรมชาติ คือ ปฐมบทที่ก่อให้เกิดเหตุปัจจัย ต้องสร้างวิถีคิดในการมองธรรมชาติอย่างเป็นแง่มุม ..เป็นพลวัตรที่ไม่ได้ตายตัว .. สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องชั่วคราว และมีเหตุปัจจัยที่ก่อให้ แตกดับเติบโต แปรเปลี่ยนเป็นชนิดอื่น ๆ ต่อไป..
อิทัปปัจจยตา คือ ความต่อเนื่อง เชื่อ มร้อยเหตุแห่งเวลาการเกิดดับเข้าด้วยกัน วิถีคิดอย่างนี้ไม่ได้เกิดในสังคมตะวันตกที่มองสรรพสิ่งอย่างแยกส่วน คิดอย่างแยกส่วนดึงส่วนต่าง ๆ ของธรรมชาติออกมาศึกษา..ธรรมะ เป็นเรื่องใหญ่และแปลกแตกต่างกว่านั้นอย่างที่หาคำใดเข้ามาเปรียบเทียบได้ ยาก คิดดูว่าเป็นคำที่เกิดขึ้นในอินเดีย ราว 2,000 กว่าปีมาแล้ว ช่วงเวลาแห่งอารยะ ช่วงเวลาแห่งความเจริญทางจิตวิญญาณได้เกิดขึ้นมาแล้วอันหาช่วงกาลใดจะเข้ามา เปรียบเปรยหาได้ไม่..
ความจริงทำให้เราหมดทุกข์ ..ธรรมะ คือ ธรรมชาติที่ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่ดีเท่านั้น สิ่งไม่ดีก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สรรพสิ่ง คือ ธรรมะ ที่มาจากกฎของธรรมชาติ ผ่านการคิดและวิธีปฎิบัติ เช่น ความเห็นแก่ตัวเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในจิตใจแต่อำนาจฝ่ายใดจะมากน้อย ขึ้นอยู่กับการหมั่นตรวจสอบจิตใจเพื่อดำเนินรูปแบบวิถีคิดในชีวิต..
ทุกศาสนาล้วนเชื่อมโยงเรื่องราวแห่งชีวิตเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน การทำดั่งนั้นได้จำเป็นต้อง เชื่อมร้อยองค์ความคิดเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน อย่างไม่แยกศาสนา เข้าถึงหัวใจและความมุ่งหมายแห่งความจริงเดียวกัน การเล็งเห็นความงาม คือ การเอาใจเชื่อมโยงกับสรรพชีวิตทั้งมวลจะทำให้ความเป็นตัวตนของเราลดลงและการ ร่วมมือกันระหว่างศาสนาเพื่อเอาตัวตนของเราออกห่างจากวัตถุนิยมเข้าสู่โลก แห่งโลกุตระ ลดราความเห็นแก่ตัว การศึกษาให้เพียงความรู้ สร้างความโอ่อ่าแก่ชีวิตเท่านั้นแต่กลับไม่เชื่อมโยงเข้าสู่ภาวะอันซับซ้อน ของจิตใจ ..การรู้ตัวทำให้เราเข้าสู่วิถีของปัญญา..เชื่อมร้อยชีวิตเข้าด้วยกัน ไม่แยกส่วนการคิด ต้องคิดอย่างเป็นองค์รวม มีสติรำลึกอยู่กับสรรพสิ่งเสมออย่าให้สติติดยึดกับตัวตนของเราเอง ..รับรู้ความคิดติดตามอารมณ์ของเราที่เกิดขึ้น
ความคิดเป็นเรื่องความจำและความจำคืออดีต ทำ ให้เรามองไม่เห็นปัจจุบัน ดังนั้น ต้องหยุดคิด เชื่อมโยงระหว่างอดีตเข้าสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันล้วนคลี่คลายตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลา ..ความจริงนั้นเคลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลา การสัมผัสความจริงต้องเชื่อมร้อยไม่ได้หมายความว่าจะปฎิเสธกระบวนการวิทยา ศาสตร์ ..หากเราต้องรู้ว่าเท่านั้นยังไม่พอจำเป็นต้องสัมพันธ์กับภายในด้วยเป็นการ แปรรูปการคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เข้าสู่จิต..เมื่อเข้าสู่จิตเราก็จะเห็น ความงามตามความจริง..ความงามล้วนอยู่รอบกายความงามอยู่ในทั้งหมด แต่เมื่อไรเอาความงามมาวิเคราะห์ความงามก็จะหมดไป..เมื่อชำและความงามจะหาย ไป ..การเข้าถึงความจริงเริ่มด้วยการละลายตัวของเราเองสู่ธรรมชาติ ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีเกิดไม่มีตาย ไม่มีความทรงจำ มีอยู่เช่นนั้นเองมีสภาวะแปรเปลี่ยนปรุงแต่ง คนส่วนใหญ่อยู่ในโลกที่ปรุงแต่ง ..และไม่รู้จักธรรม..หากค้นเราจะพบกับสภาพไร้ตัวตน ที่ไม่มีเกิด ไม่มีตาย เป็นอนันต์กาล..หากระงับการปรุงแต่งได้ เราจะพบกับ ความสุข เป็นหนึ่งเดียวกับธรรม..
สงบ..รำงับ..จริง ๆ แล้วคนอยากทำความดีหากสังคมไม่อาจตอบสนองภาวะจิตใจเหล่านี้ การปฎิวัติเงียบ ด้วยการเผชิญกับจิตใจถึงต้องเป็นหนทางสายหนึ่งของการพัฒนา..ใช้วิธีการคิด และไตร่ตรองก่อนเชื่อถือ..ใครพูดสิ่งใดมาให้ฟังให้จบ อย่าโต้ตอบโดยทันที..แล้วพิจารณาหาเหตุผลด้วยการทำความเข้าใจ..เพื่อยืนยัน จุดยืนแห่งจิต..