Earthen Building ประวัติบ้านดิน

Posted on

Earthen Building ประวัติบ้านดิน

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=punpunthailand&month=08-2009&date=02&group=15&gblog=17


ความเป็นมา

ในยุคแรกๆเชื่อกันว่ามนุษย์ใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยต่อมาเมื่อจำนวนประชากรมากขึ้นแต่จำนวนถ้ำมีจำกัด มนุษย์เริ่มใช้กิ่งไม้และใบไม้ทำเป็นที่อยู่อาศัยแต่ในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นมากมนุษย์ก็เริ่มใช้ดินมาโบกฉาบผนังบ้านภาษาอีสานและลาวเรียกว่า ทาเปี๋ยะ (wattle&duab) จากนั้นมนุษย์ก็เริ่มพัฒนามาใช้หินก่อด้วยดินและทำอิฐดินก่อด้วยดิน (adobe) จนกระทั่งเข้าสู่ยุคโลหะมนุษ์เริ่มเปลี่ยนเครื่องมือจากหินมาเป็นโลหะจากนั้นมนุษย์ก็เริ่มรู้จักใช้ไม้ทำที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้มากขึ้น แต่มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายหรือในที่แห้งแล้งกันดารเขาก็ยังทำบ้านดินอยู่อาศัยเรือยมาจนปัจจุบัน บ้านดินถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกบ้านดินมีอายุยาวนานที่สุดในโลกด้วยในปัจจุบันยังมีบ้านดินเก่าๆอายุตั้งแต่ 200 -1,000 ปี กระจายอยู่ทั่วโลกเช่นบ้านของอินเดียแดงเผ่าอนาซาซีซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในรัฐนิวเม็กซิโก โคโลราโด อริโซนา บางแห่งมีอายุเกือบ 2000 ปี เช่น ที่ เมือง เทาพูเอบโบลซึ่งที่นี่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นที่อยู่อาศัยที่มีคนอาศัยอยู่ยาวนานที่สุดในโลกคือตั้งแต สร้างมาจนถึงปัจจุบันมีคนอาศัยอยู่ตลอดมาไม่เคยขาดช่วงเลยนอกจากนี้ยังมีบ้านดินเก่าแก่อีกมากมายกระจายอยู่ทั่วไปในตะวันออกกลางแอฟริกา จีน เป็นต้นซึ่งส่วนมากจะอยู่ในเขตทะเลทรายหรือบริเวณที่แห้งแล้งกันดารมากๆเพราะบริเวณเหล่านี้จะมีอากาศแปรปรวนมาก หน้าร้อนก็จะร้อนจัดหน้าหนาวก็หนาวจัดจนมีหิมะลงเป็นดึอนๆในสภาวะเช่นนี้คนจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีฟืนไม่มีไฟฟ้าช่วยปรับความร้อนในบ้านแต่บ้านดินช่วยให้คนอยู่รอดมาได้หลายพันปีจนปัจจุบัน

ในมืองไทยมีคนใช้ดินฉาบทายุ้งข้าวมายาวนานเหมือนกับหลายๆที่ในโลกแต่วัฒนธรรมคนไทยไม่มีร่องรอยการใช้ดินทำบ้านจนกระทั่งเมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาอาศัยในเมืองไทยคนจีนบางส่วนได้นำเอาวัฒนธรรมการทำบ้านด้วยดินเข้ามาใช้ในเมืองไทยด้วยทำให้มีบ้านดินเกิดขื้นหลายแห่งในภาคอิสานในระหว่าง 70- 100 ปี ที่ผ่านมาเช่น ยโสธร อุบล ร้อยเอ็ด นครพนม เป็นต้นอาจจะมีในจังหวัดอื่นๆด้วยแต่ไม่เหลือร่องรอยให้เห็นอาจจะเป็นเพราะที่อื่นๆมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าจังหวัดทางอิสานเลยทำให้คนจีนในที่อื่นๆมีเงินทองเร็วกว่าประกอบกับโลกได้พัฒนาเข้าสู่ยุคคอนกรีตก็เลยไม่มีใครสร้างบ้านด้วยดินอีกภาคอิสานเป็นส่วนที่ยากจนที่สุดของประเทศ คนจีนในภาคอิสานเลยยากจนกว่าคนจีนในภาคอื่นๆบ้านดินในภาคอิสานจึงถูกทำลายช้าที่สุด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้นการทำธุรกิจในภาคอิสานเริ่มดีขึ้นความเจริญก้าวหน้าแพร่เข้ามาบ้านดินที่เหลืออยู่ก็เริ่มถูกทุบทิ้งอย่างรวดเร็วโดยมีตึกคอนกรีตเข้ามาแทนที่ในภาคเหนือก็มีชาวเขาบางเผ่าทำบ้านด้วยดินอยู่อาศัยแต่ในปัจจุบันเขาก็เริ่มเปลียนเป็นบ้านไม้หรือคอนกรีตแทบทั้งหมดเช่นกัน

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539 ผมได้สร้างบ้านดินขึ้นมาหลังหนึ่งหลังจากที่ได้ไปเห็นบ้านของคนอินเดียแดงที่รัฐนิวเม็กชิโกผมรู้สึกชอบมากตรงที่มันเย็นสบายดีในขณะที่อากาศข้างนอกร้อนมากและอุ่นดีเมื่ออากาศข้างนอกหนาวเย็นผมไม่เคยได้ยินคำว่าบ้านดินมาก่อนเห็นครั้งแรกก็รู้สึกชอบเพราะมันดูแปลกตาดีและได้เดินดูบ้านคนอินเดียแดงเพียง 15 นาที พอมาลองทำดูก็ไม่ยาก ผมใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อวันทำบ้าน จากตี 5 ถึง 7 โมงเช้า ทุกวันพอเวลาผ่านไป 3 เดือนผมได้บ้านหนึ่งหลังรู้สึกว่าการที่จะมีบ้านอยู่ไม่ใช่เรื่องยากเลยจากนั้นผมก็ทำบ้านทุกปีปีละหลังสองหลังเรื่อยมา

ในปี 2543 พี่ ประชา หุตานุวัต จากอาศรมวงศ์สนิทได้เจอกับ Michel spaan กับ Janell kapoor ที่ภาคใต้ ฝรั่งสองคนนี้เป็นครูสอนทำบ้านดินพี่ประชาเลยชวนมาสอนที่อาศรมวงศ์สนิท คลอง 15 องครักษ์นครนายกและผมได้รับชวนให้ไปร่วมสังเกตการณ์ด้วยมีคนเข้าร่วมประมาณ 20 กว่าคน

ในการฝึกอบรมครั้งนี้เขาสอนการทำบ้านแบบดินปั้น (cob) คือเอาดินเหนียวมานวดผสมกับฟางเส้นยาวๆปั้นเป็นก้อนแล้วเอามาแปะติดกันใช้ไม้เย็บแต่ละแผ่นให้สานติดกันชื่งจะปั้นเป็นรูบทรงอะไรก็ได้วิธีนี้จะก่อเร็วไม่ได้ต้องรอให้ดินแห้งอยู่ตัวก่อนนิดหนึ่งก่อนที่จะก่อต่อไปและการผสมดินเหนียวกับฟางยาวๆก็ค่อนข้างจะยาก ผู้เข้าร่วมหลายคนรู้สึกว่ามันยากเกินไปผมเลยบอกว่าวิธีที่ผมทำอยู่ง่ายกว่านี้ตอนท้ายผมลองทำอิฐให้ดูหลายคนสนใจมากไม่นานจากนั้นก็เกิดการฝึกอบรมครั้งที่ 2 ขึ้นโดยใช้เทคนิคอิฐดินดิบ (adobe) ที่บ้านศรีฐานอำเภอป่าติ้วยโสธรบ้านผมเอง ในเวลา 10 วันเราทำบ้านขนาด 4 x 7 เมตรสูง 2ชั้นเสร็จพร้อมกับหลังคา โดย ก่อนการฝึกอบรมได้เตรียมอิฐไว้ก่อน โดยคน 8 คนทำอิฐ 8 ชั่วโมงได้อิฐ 2,000 ก้อน ถือว่าเร็วมาก เมื่อเทียบกับการฝึกอบรมครั้งแรกที่ทำเป็นบ้านกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตรครึ่ง ทำ 10 วันยังไม่เสร็จและต้องรออีกหลายเดือนถึงจะแหังจริงๆจึงจะทาสีให้เสร็จได้ปรากฏว่าทุกคนชอบการทำบ้านดินแบบอิฐดินดิบมากทำให้เกิดฝึกอบรมอีกหลายแห่งในเดือนต่อมาและข่าวก็กระจายออกตามสื่อต่างๆอย่างรวดเร็ว

จากการฝึกอบรมที่ยโสธรได้เกิดทีมทำบ้านดินขึ้นที่อาศรมวงศ์สนิทโดยมี ไพริน พงศ์สุระ โจ้ ธนา อุทัยภัทรกุล ต่าย ราชบดิน บุญไชโย และมีทีมสมัครเล่นอีกหลายทีมเช่น นาย ดี ช่างหม้อ และ แม่ องุ่น เป็นต้น และหลายคนก็กลับไปทำบ้านของตัวเอง

ภายในเวลา 3 ปีทีมต่างๆไดัช่วยกันจัดฝึกอบรมในที่ต่างๆทั่วประเทศมากกว่า 30 ครั้ง เกิดบ้านดินขึ้นจากการฝึกอบรมและคนกลับไปทำกันเอง มากกว่า 100 หลัง ทั่วประเทศ อีก 2  ปีต่อมาจำนวนบ้านดินเพิ่มขึ้นมากกว่า 600 หลัง ทั่วประเทศจากนั้นก็ไม่สามารถนับจำนวนได้อีก เพราะต่างคนต่างทำและกระจายวงกว้างออกไปเร็วมากจนไม่สามารถเก็บสถิติได้อีกต่อไป

การทำบ้านดินมีหลายวิธี

1 การทำบ้านดินแบบ อิฐดินดิบ ( Adobe ) ทำอิฐโดยไม่เผาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาก่อเป็นบ้านเหมือนกับการก่ออิฐมอญหรืออิฐคอนกรีต

2 การทำแบบ ดินปั้น (Cob ) คือก่อโดยใช้ดินผสมกับฟางเส้นยาวๆแล้วเอามาปั้นเป็นบ้านได้เลยหรือจะก่อเป็นรูปอะไรก็ได้

3 การทำแบบดินฉาบโครงไม้ ( Wattle & daub ) คือการทำโครงไม้ขึ้นมาก่อนซึ่งจะเป็นไม้ไผ่หรือกิ่งไม้ก็ได้แล้วเอาดินเหนียวหรือดินเหนียวผสมขี้วัวฉาบเช่นยุ้งข้าวในภาคอิสานหรือในลาว เป็นต้น

4 การทำแบบ ดิน อัด ( Ram earth ) คือทำบ้านโดยใช้ แบบพิมพ์ที่ผนังใส่ดินที่ชื้นพอหมาดๆเข้าไปไนพิมพ์แล้วตำให้แน่นเสร็จแล้วย้ายพิมพ์ไปด้านต่อไปจนรอบแล้วก็ขยับขึ้นชั้นที่สองไปเรื่อยๆจนได้ความสูงตามที่ต้องการ

5 การทำแบบกระสอบดินหรือกระสอบทราย (Earthbag bag ) ใช้กระสอบอาหารสัตว์ กรอกดินเข้าไป ประมาณ 3 ส่วน 4 แล้วพับปากกระสอบลงด้านล่างวางเรียงกันเป็นกำแพงเหมือนกับการ ก่ออิฐโดยทั่วๆปแต่ไม่ต้องไช้ดินหรือปูนเป็นตัวเชื่อมเพียงแต่ใช้ไม้ไผ่ตอกแต่ละชั้นให้เชื่อมกัน ากนั้นก็ใช้ดินฉาบเหมือนบ้านดินทั่วไป

6 การทำบ้านก้อนฟาง เป็นเทคนิคใหม่ที่เราทดลองทำกันมา (Straw bale house) คล้ายแบบอิฐดินดิบ แต่เปลี่ยนจากการใช้อิฐมาใช้ก้อนฟางแทนประหยัดเวลาและเงินเป็นอย่างมาก